การตรวจสอบระบบไฟชาร์จบนรถยนต์

เมื่อระบบไฟชาร์จเกิดสาเหตุขัดข้องอันเกิดจากการชาร์จน้อยเกินไปหรือการชาร์จมากเกินไป ให้ทำการตรวจสอบหาสาเหตุที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากอะไรก่อนที่จะทำการถอดอัลเทอร์เนเตอร์และเรกูเลเตอร์ ออกจากรถยนต์
จุดที่ต้องทำการตรวจสอบหาสาเหตุข้อบกพร่องคือ
1. ตรวจวัดค่าความถ่วงจำเพาะนํ้ากรดของแบตเตอรี่ ทำได้ดังนี้ (ดูรูปที่ 7.83)
-ตรวจวัดค่าความถ่วงจำเพาะนํ้ากรดทุกๆ เซลล์ ค่าความถ่วงจำเพาะเมื่อแบตเตอรี่มีไฟเต็มที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส (68 องศาฟาเรนไฮต์) มีค่าประมาณ 1.25 ถึง 1.27
-ตรวจวัดระดับของนํ้ากรดทุกๆ เซลล์ ถ้าไม่ถึงระดับให้เติมด้วยนํ้ากลั่นเท่านั้น


รูปที่ 7.83 การตรวจวัดค่าความถ่วงจำเพาะน้ำกรดของแบตเตอรี่
2. ตรวจสอบขั้วแบตเตอรี่ ฟิวส์สาย และฟิวส์ ทำได้ดังนี้ (ดูรูปที่ 7.84)
-ตรวจดูว่าขั้วแบตเตอรี่จะต้องไม่หลวมหรือสกปรกจากขี้เกลือ
-ตรวจดูว่าฟิวส์สายหรือฟิวส์ต่อกันแน่นดีหรือไม่ ต่อเนื่องกันหรือไม่


รูปที่ 7.84 การตรวจสอบขั้วแบตเตอรี่ ฟิวส์สาย และฟิวส์
3. ตรวจสอบสายพาน ทำได้ดังนี้
-ตรวจสอบสายพานว่ามีรอยแตกฉีกร้าวหรือไม่ ถ้าการตรวจสอบพบว่ามีให้เปลี่ยนสายพานใหม่ดังรูปที่ 7.85 (ก)
-ตรวจสอบความตึงของสายพาน ค่าความตึงของสายพาน ซึ่งเมื่อกดลงจะมีค่าประมาณ 5 ถึง 8 มิลลิเมตร (0.20 ถึง 0.31 นิ้ว) เมื่อปรับความตึงของสายพานแล้วให้ติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที แล้วตรวจสอบความตึงของสายพานใหม่และตรวจสอบการลื่นไถลของสายพานดังรูปที่ 7.85 (ข)
-สายพานแบบใหม่ซึ่งมีร่องตัว V หลายๆ ร่องในเส้นเดียว จะต้องให้ร่องตัว V ทั้งหมดสวมลงในร่องพูลเลย์ดังรูปที่ 7.85 (ค)


รูปที่ 7.85
4. ตรวจสอบความแน่นของสายใฟที่อัลเทอร์เนเตอร์และฟังเสียงผิดปกติ ทำได้โดย (ดังรูปที่ 7.86)
-ตรวจสอบสายไฟที่ต่อเข้าอัลเทอร์เนเตอร์ต้องแน่น
-เมื่อติดเครื่องยนต์ ฟังเสียงผิดปกติที่เกิดขึ้นของอัลเทอร์เนเตอร์ว่ามีหรือไม่


รูปที่ 7.86 การตรวจสอบความหนาแน่นของสายไฟที่อัลเทอร์เนเตอร์
5. ตรวจสอบวงจรแสดงการชาร์จ ทำได้โดย
-เปิดสวิตช์กุญแจจุดระเบิด ON หลอดแสดงไฟชาร์จติด
-ติดเครื่องยนต์ ตรวจดูว่าหลอดไฟแสดงการชาร์จต้องดับ
-ถ้าไม่เป็นไปตามนี้ตรวจดูข้อขัดข้องของวงจรไฟแสดงการชาร์จ
6. ตรวจสอบวงจรไฟชาร์จขณะไม่มีภาระ ทำได้ดังนี้
ก. ใช้แอมมิเตอร์และโวลต์มิเตอร์ต่อเข้ากับอัลเทอร์เนเตอร์โดย (ดังรูปที่ 7.87)
-ถอดขั้ว B ของอัลเทอร์เนเตอร์ออกแล้วต่อขั้ว – ของแอมมิเตอร์เข้ากับขั้ว + ของแบตเตอรี่
-ต่อขั้ว + ของแอมมิเตอร์เข้ากับขั้ว B ของอัลเทอร์เนเตอร์
-ต่อขั้ว + ของโวลต์มิเตอร์เข้ากับขั้ว B ของอัลเทอร์เนเตอร์
-ต่อขั้ว – ของโวลต์มิเตอร์ลงกราวด์


รูปที่ 7.87 การตรวจสอบวงจรไฟชาร์จขณะไม่มีภาระโดยใช้แอมมิเตอร์และโวลต์มิเตอร์
ข. ตรวจสอบวงจรไฟชาร์จโดยการติดเครื่องยนต์โดย
-เร่งเครื่องยนต์จากความเร็วเดินเบาจนถึงความเร็วรอบที่ 2,000 รอบต่อนาที อ่านค่าที่แอมมิเตอร์ และโวลต์มิเตอร์ เรกูเลเตอร์แบบธรรมดา แอมแปร์จะน้อยกว่า 10 แอมป์ แรงเคลื่อนประมาณ 13.8 ถึง 14.8 โวลต์ ที่ 25 องศาเซลเซียส (77 องศาฟาเรนไฮต์) ดังรูปที่ 7.88
-ถ้าแรงเคลื่อนไฟฟ้าอ่านค่าได้น้อยกว่านี้ให้ปรับเรกูเลเตอร์หรือเปลี่ยนใหม่ดังรูปที่ 7.89
-ไอซีเรกูเลเตอร์แบบธรรมดา แอมแปร์จะน้อยกว่า 10 แอมป์ แรงเคลื่อนประมาณ 13.8 ถึง 14.4 โวลต์ ที่ 25 องศาเซลเซียส (77 องศาฟาเรนไฮต์) แบบความเร็วสูง แรงเคลื่อนประมาณ 13.9 ถึง 15.1 โวลต์ ที่ 25 องศาเซลเซียส (77 องศาฟาเรนไฮต์) หรือประมาณ 13.4 ถึง 14.4 โวลต์ ที่ 115 องศาเซลเซียส (239 องศาฟาเรนไฮต์) (ดูรูปที่ 7.90) ถ้าแรงเคลื่อนไฟฟ้าอ่านค่าได้มากกว่าหรือน้อยกว่ามาตรฐานให้เปลี่ยนไอซีเรกูเลเตอร์ใหม่


รูปที่ 7.88


รูปที่ 7.89


รูปที่ 7.90
7. ตรวจสอบวงจรไฟชาร์จแบบมีภาระทำได้โดย
-ติดเครื่องยนต์เร่งเครื่องยนต์ให้ความเร็วรอบถึงที่ 2,000 รอบต่อนาที เปิดไฟหน้าในตำแหน่งไฟสูง และเปิตสวิตช์แอร์รถยนต์
-อ่านค่าที่แอมมิเตอร์ จะต้องได้ค่ามากกว่า 30 แอมป์ ถ้าค่าที่อ่านได้น้อยกว่า 30 แอมป์ ให้ทำการตรวจซ่อมอัลเทอร์เนเตอร์หรือเปลี่ยนใหม่ดังรูปที่ 7.91

รูปที่ 7.91
ถ้าไม่มีปัญหาเกิดขึ้นกับไดโอตจะตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว N ได้ครึ่งหนึ่งของขั้ว B ถ้าการตรวจวัดไม่ได้แรงเคลื่อนไฟฟ้าครึ่งหนึ่งของขั้ว B แสดงว่าเกิดปัญหาขึ้นกับไดโอด ความสัมพันธ์ระหว่างการลัดวงจรหรือการขาดวงจรของไดโอตและแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว N แสดงในรูปที่ 7.92


รูปที่ 7.92 แสดงความสัมพันธ์แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว N และความเร็วรอบเพื่อหาการเสียของไดโอด