ระบบส่งกำลังของเครื่องยนต์

สายพานรถยนต์

การบริการการส่งกำลังด้วยสายพาน,โซ่,เฟือง,และเพลา

1.  การบริการสายพาน

(1) การตั้งสายพาน คือการตั้งความตึงหย่อนของสายพาน ถ้าหากว่าตั้งสายพาน ถ้าหากว่าตั้งสายพานหย่อนเกินไปก็จะทำให้หน้าสัมผัสลื่นทำงานไม่ได้เต็มที่  แต่ถ้าตั้งตึงเกินไปทำให้จุดต่างๆ ที่สายพานดึงเข้าหากันและตัวสายพานเองก็จะเสียเร็วกว่าธรรมดา ฉะนั้นการตั้งสายพานนี้จะต้องตั้งให้ถูกต้องตามหนังสือคู่มือประจำเครื่องนั้นๆ หรือถ้าไม่มีหนังสือคู่มือก็ควรตั้งให้มีความหย่อนลึกลงไปจากระดับเส้นตรงเดิม(เมื่อใส่สายพานตึง) โดยการใช้มือกดลงไปให้หย่อนประมาณเท่ากับความกว้างของหลังสายพาน คือถ้าสายพานเล็กก็หย่อนน้อยกว่าสายพานใหญ่ เพราะว่าความกว้างของหลังสายพานมีขนาดไม่เท่ากัน

(2)  พยายามอย่าให้ถูกน้ำมันหล่อลื่น เพราะว่าจะทำให้สายพานเสียเร็วกว่าธรรมดาด้วย

ข้อควรระวัง

(1) ในการใส่ประกอบสายพาน ไม่ควรประกอบเมื่อเครื่องฉุดกำลังทำงานอยู่ และควรระวังอย่าให้มือพลาดพลั้งทำให้สายพานหนีบมือได้

(2) อย่าให้วัตถุอื่นๆ เข้าไปถูกหรือขัดตัวกับสายพาน ในเมื่อสายพานกำลังทำงานอยู่

(3) อย่าใช้สายพานที่เสื่อมคุณภาพ เพราะว่าสายพานจะทำงานไม่เต็มที่ หรืออาจเสียได้ง่าย

(4) ควรหาวิธีการป้องกันอันตรายเอาไว้ให้เรียบร้อย เช่น

1. ทำเครื่องดักสายพานไม่ให้สายพานหลุดออกมาได้ง่ายๆ(สายพานแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า)

2. ห้ามไม่ให้เข้าใกล้บริเวณอันตรายเมื่อสายพานขาดหรือหลุด

(5)  ถ้าหากว่าเป็นเครื่องมือตั้งอยู่กับที่ขนาดใหญ่ๆ และต้องใช้ทำงานในเวลาตอนกลางคืน ควรให้มีแสงสว่างใช้อย่างเพียงพอ

(6) ไม่ควรสตาร์ทเครื่องยนต์(เครื่องฉุด) โดยการจับสายพานดึงหมุนเครื่องเพราะว่าอาจเกิดอันตรายได้ง่าย

(7) ในการใส่ประกอบสายพานจะต้องให้จุดที่ถูกดึงอยู่แนวตรงกัน

สายพานที่ควรเปลี่ยน คือ

(1) เสียโดยการมีรอยฉีกขาด หรือมีแผลรอยหัก

(2) เสื่อมคุณภาพ เช่น

1.  หน้าสัมผัสลื่นจะเกิดการเสียหาย คือเครื่องฉุดหมุนเร็วแต่เครื่องตามหมุนช้ากว่าธรรมดา

2.  หน้าสัมผัสไม่ทำงาน เนื่องจากว่าเกิดการสึกหรอมาก (สำหรับสายพานรูปตัวV) การสึกหรอนี้จะสังเกตได้จากส่วนด้านในของสายพานมีการสึกหรอเกิดขึ้น ซึ่งถ้าด้านนี้ทำงานด้านข้างที่หน้าสัมผัสก็ไม่สามารถทำงานได้

2. การบริการโซ่

(1) ใช้น้ำมันเครื่องหยอดใส่ที่โซ่ ตามคำแนะนำประจำเครื่องนั้นๆ เพื่อป้องกันการสึกหรอหรือการเป็นสนิม

(2) ควรปรับให้ได้ขนาดตามหนังสือคู่มืออยู่เสมอ เพราะว่าถ้าปรับตึงเกินไป โซ่จะเสียเร็วหรือส่วนประกอบที่ทำงานสัมพันธ์กัน อาจสึกหรอหรือเสียเร็วกว่าธรรมดา แต่ถ้าหย่อนเกินไป ก็อาจหยุดได้ง่าย และเกะกะรุงรังอาจไปเกี่ยวเอาชิ้นส่วนอื่นๆ ได้ง่าย หรืออาจกระแทกกับส่วนอื่นๆ ให้ได้ยินเสียงได้อย่างชัดเจน เครื่องยนต์ที่ใช้โซ่ส่งกำลังได้แก่ รถจักรยานยนต์เป็นต้น

ข้อควรระวัง

(1) หาวิธีป้องกันอันตรายจากการใช้โซ่ เช่นการทำกรอบหุ้มโซ่เอาไว้

(2) ตอนใส่หรือประกอบโซ่ไม่ควรกระทำในขณะเครื่องฉุดกำลังทำงานอยู่

(3) เมื่อโซ่หลุดหรือขาดควรรีบหยุดทันที เพราะว่าถ้าเครื่องยังหมุนอยู่ อาจทำให้โซ่ขัดตัวทำให้เกิดการเสียหายขึ้นได้ สำหรับรถจักรยานยนต์ เมื่อโซ่ขาดขณะที่กำลังแล่นรถด้วยความเร็วสูงก็จะได้รับอันตราย

(4) อย่าใช้งานให้เกินกำลัง อาจเกิดอันตรายได้ง่าย

(5) ในตอนที่ประกอบโซ่ จะต้องให้จุดที่ดึงทั้งหมดอยู่ในแนวตรงกัน

โซ่ที่ควรเปลี่ยน

(1) เมื่อบู๊ชบังคับฟันเฟืองสึกหรอมาก

(2) เก่ามากหรืออาจมีสนิม เนื่องจากไม่ได้หยอดน้ำมันหล่อลื่นหรือเก็บไว้นานๆ

(3) หัวข้อต่อหลวม

3. การบริการเฟือง

(1) ใช้และเปลี่ยนน้ำมันเครื่องให้ถูกต้องตามคำแนะนำ ส่วนมากใช้น้ำมันเกียร์

(2) ตั้งระบบเฟืองให้ถูกต้องตามหนังสือคู่มือ ถ้าตั้งไม่ถูกต้องจะเกิดการเสียหาย คือ

1.  ถ้าตั้งชิดเกินไป จะทำให้เกิดการสึกหรอเร็วกว่าธรรมดา หรืออาจกลับตัว ทำงานได้ไม่สะดวก

2. ถ้าตั้งห่างเกินไป ทางด้านปลายของเฟืองที่ทำงานจะเกิดการสึกหรอเร็ว

(3) ตรวจคุณภาพของเฟืองและลูกปืนบังคับเพลาของเฟืองให้ทำงานเป็นปกติอยู่เสมอ

ข้อควรระวัง

(1) อย่าปล่อยให้น้ำมันหล่อลื่นเสื่อม แห้งหรือมีน้อยกว่าระดับที่กำหนดไว้ ซึ่งจะเกิดการเสียหายคือ

1. ซีนป้องกันการรั่วของน้ำมันเสีย

2. เฟืองสึกหรอเร็ว

(2) อย่าใช้แบบเร่งเครื่องฉุดให้ทำงานเต็มกำลังแล้วปล่อยส่งกำลังมายังเฟืองแบบกระตุก ซึ่งอาจทำให้เฟืองหักได้

(3) อย่าใช้ทำงานหนักเกินกำลัง

(4) อย่าให้วัตถุอื่นๆ เข้าไปขัดขวางตามระบบเฟืองเมื่อทำงาน

เฟืองที่ควรเปลี่ยน

(1) หักหรือบิ่นใช้การได้ไม่ค่อยดี

(2) สึกหรอมาก

4. การปฏิบัติรักษาเพลา

(1) อัดน้ำมันหล่อลื่นตามจุดต่างๆ ที่มีการเคลื่อนไหวและเสียดสีกันให้เรียบร้อยก่อนที่จะใช้

(2) ตรวจดูคุณภาพของลูกปืนข้อต่อ หรือน็อตยึดให้อยู่ในสภาพดีเสมอ

ข้อควรระวัง

(1) อย่าให้วัตถุอื่นๆ เข้าไปถูกหรือเกะกะตามบริเวณเพลา

(2) ควรทำเครื่องดักๆ เอาไว้เป็นระยะๆ เพื่อป้องกันอันตรายเมื่อเพลาขาดหรือหลุด

(3) อย่าใช้เครื่องให้มีอาการ กระตุกอาจทำให้เพลาเสียเร็ว

(4) อย่าใช้ทำงานหนักให้เกินกำลัง ซึ่งเพลาอาจขาดได้ง่าย

(5) ควรทำกรอบหุ้มหรือเขียนป้ายเครื่องหายอันตรายบอกเอาไว้

เพลาที่เสีย

(1) ลูกปืนที่ข้อต่อเพลาเสีย

(2) ที่บังคับปลอกลูกปืนเสีย

(3) เพลาเก่ามีการสึกหรอมาก

(4) เพลาที่คดเมื่อทำงานมีการแกว่ง

การเปลี่ยนลูกปืนกากบาทข้อต่อหัวเพลา

(1) ถอดกากบาทข้อต่อเพลาออก (แกนของข้อต่อ)

(2) ถอดสปริง ดักหัวลูกปืน ข้อต่อออกให้หมดทั้ง 4 ด้าน

(3) ใช้เครื่องกดๆ ตรงปลอกลูกปืนออกให้หมดทุกๆ อัน

(4) เอากากบาทข้อต่ออันใหม่ใส่เข้า แทนที่แล้วอัดลูกปืนใหม่เข้าที่เดิมโดยใช้กำลังกด แต่ถ้ากระแทกเข้าไปอาจทำให้ปลอกลูกปืนแตกได้ การใส่ประกอบนี้ควรระวังลูกปืนขัดตัวกับหัวของกากบาท