การหยุดรถยนต์ในกรณีฉุกเฉิน

ในการขับขี่ตามปกติแล้ว ผู้ขับขี่ที่ดีจะไม่เบรกรถยนต์อย่างรุนแรง แต่อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ฉุกเฉินก็อาจเกิดขึ้นได้เสมอ เช่น มีคนวิ่งตัดหน้ารถของคุณในขณะที่คุณกำลังขับขี่ คุณจะต้องทราบว่าจะหยุดรถยนต์อย่างรวดเร็วได้อย่างไรและอยู่ภายใต้การควบคุมของคุณด้วย การหยุดรถยนต์ในกรณีฉุกเฉิน จะเสี่ยงต่อการลื่นไถลไปบนถนน การหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการลื่นไถลเป็นสิ่งจำเป็น ถึงแม้ว่าคุณจะต้องหยุด รถยนต์อย่างรวดเร็วก็ตาม คุณก็ยังควรจะดำเนินตามกฏการเบรกอย่างเป็นขั้นตอน คือเพิ่มแรงเบรกให้มากขึ้นในขณะที่รถยนต์วิ่งช้าลง ปฏิกิริยาการเริ่มเหยียบเบรกมีความสำคัญมากต่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน คุณเริ่มเหยียบเบรกเร็วเท่าใด คุณก็สามารถหยุดรถยนต์อย่างทันเหตุการณ์มากเท่านั้น ควรฝึกฝนการปฏิบัติต่อไปนี้ให้เกิดความคุ้นเคย -มือทั้งสองข้างวางอยู่บนพวงมาลัย คุณจะสามารถควบคุมรถยนต์ได้ดีขึ้น -หลีกเลี่ยงการเบรกอย่างรุนแรงซึ่งอาจทำให้ล้อหนึ่งล้อใดล็อกตายได้ เพราะการลื่นไถลจะทำให้ไม่สามารถควบคุมทิศทางได้ -ไม่ต้องเหยียบคลัตช์ จนกว่ารถยนต์จะเริ่มหยุด สิ่งนี้จะช่วยให้การเบรกมั่นคงขึ้นและทรงตัวดีขึ้น -ไม่ต้องใช้เบรกมือ เบรกมือส่วนมากทำงานเฉพาะที่ล้อหลัง การเพิ่ม แรงเบรกที่เบรกมือด้วย จะยิ่งทำให้ล้อลื่นไถลได้ง่ายขึ้นเนื่องจากล้อล็อกตาย ถ้าคุณยังไม่ได้ออกตัวอีกครั้งหนึ่ง คือจอดรถยนต์อยู่กับที่หลังจากเบรกแล้วคุณควรใช้เบรกมือและโยกคันเกียร์ไปที่เกียร์ว่างคุณควรฝึกฝนการเบรกเพื่อให้ทราบปริมาณแรงเหยียบเบรกที่เหมาะสม แต่อย่าลืมว่าคุณจะต้องพิจารณาถึงสภาพถนนและสภาพภูมิอากาศด้วย ถ้าถนนแห้ง คุณควรเหยียบเบรกด้วยแรงกดมากขึ้น แต่ถ้าถนนเปียก […]

การออกตัวของรถยนต์แบบลงทางลาด

การออกตัวลงทางลาดของรถยนต์มีความสะดวก และง่ายกว่าการออกตัวขึ้นทางชัน เพราะนํ้าหนักของรถจะช่วยให้คุณออกตัวง่ายขึ้น การป้องกันไม่ให้รถเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ก่อนที่จะปลดเบรกมือนั้น ให้ใช้เท้าขวาเหยียบเบรกไว้ก่อน ขั้นตอนต่างๆ มีดังนี้ 1. กดแป้นคลัตช์ลงเต็มที่ 2. เลือกใช้เกียร์ที่เหมาะสม (โดยทั่วไปอาจเป็นเกียร์สอง ถ้าลาดชันลงมาก) 3. เหยียบแป้นเบรก 4. ปลดเบรกมือและใช้เบรกเท้าไว้ก่อน 5. ใช้กระจกมองหลัง และกระจกมองข้าง และมองโดยรอบก่อนออกตัว เพื่อตรวจสอบจุดบอด 6. ให้สัญญาณถ้าจำเป็น การออกตัวของรถยนต์แบบลงทางลาด 7. ออกตัวเผื่อแน่ใจว่าปลอดภัย มองโดยรอบอีกครั้งหนึ่งถ้าจำเป็น 8. ปล่อยเบรกเท้า และถอนคลัตช์อย่างราบเรียบในขณะที่รถยนต์เริ่มเคลื่อนที่ คุณควรมองกระจกในขณะออกตัวรถยนต์คันหลัง อาจจะต้องลำบากที่จะต้องเบรกหรือชะลอความเร็ว ถ้าคุณตัดหน้าเขา […]

การออกตัวรถยนต์แบบขึ้นทางชัน

รถยนต์ของคุณมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนถอยหลังเมื่อออกตัวขึ้นทางชัน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้คุณจะต้องมีความสามารถในการใช้คันเร่ง คลัตช์และเบรกมือพร้อมกัน การออกตัวรถยนต์ขึ้นทางชันจะมีหลักการฝึกฝน คล้ายกับการออกตัวบนพื้นระดับ ดังนี้ 1. ใช้เท้าซ้ายกดแป้นคลัตช์ลง 2. โยกคันเกียร์จากเกียร์ว่างไปยังเกียร์หนึ่ง 3. ใช้เท้าขวากดแป้นคันเร่ง โดยกดให้มากกว่าการออกตัวบนพื้นระดับ และกดอย่างสม่ำเสมอ ระยะกดของแป้นคันเร่งนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณของความชัน 4. ถอนคลัตช์เพื่อให้เริ่มมีการถ่ายทอดกำลัง และให้ระยะถอนคลัตช์มากกว่าการออกตัวบนพื้นระดับเล็กน้อย 5. ตรวจสอบความปลอดภัยต่อไปนี้ -ใช้กระจกมองหลัง และมองข้างตรวจสภาพด้านหลัง -เหลียวมองข้างหลัง ทางไหล่ขวา เพื่อตรวจสอบจุดบอดให้แน่ใจว่าไม่มีรถคันอื่น คุณควรจำไว้ว่าจะต้องกะระยะให้มากขึ้นกว่าเดิม เพราะรถยนต์ของคุณจะเคลื่อนที่ออกตัวได้ช้ากว่าบนพื้นระดับ 6. ตัดสินใจว่าจะใช้สัญญาณก่อนออกตัวหรือไม่ 7. ให้สัญญาณถ้าจำเป็น 8. มองโดยรอบอีกครั้งหนึ่งถ้าจำเป็น 9. ยกคันเบรกมือและกดปุ่มปลดล็อกในขณะเดียวกันก็เริ่มกดแป้นคันเร่งเล็กน้อย […]

การออกตัวของรถยนต์แบบหักมุม

หลักการออกตัวของรถยนต์แบบหักมุมใช้หลักการเบื้องต้นเช่นเดียวกับการออกตัวของรถยนต์จากตำแหน่งหยุดนิ่งตามที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่มีสิ่งเพิ่มเติมนอกจากการตรวจสอบความปลอดภัยแล้วคุณจะ ต้องถามตัวเองว่า การเคลื่อนตัวออกจะหักมุมออกไปมากน้อยเพียงใด และจะต้องใช้ระยะทางไกลแค่ไหน จึงจะเข้าสู่เส้นทางจราจรได้ตามปกติ การตัดสินใจของคุณจะขึ้นอยู่กับสิ่งเหล่านี้ -คุณอยู่ใกล้รถยนต์คันหน้าหรือสิ่งกีดขวางข้างหน้ามากน้อยแค่ไหน -ความกว้างของรถยนต์คันหน้า -รถที่อาจมีสวนทางมา ตรวจสอบรถยนต์คันหลังและตัดสินใจว่าคุณควรจะใช้สัญญาณหรือไม่ในการขับเคลื่อนออกไป เมื่อคุณแน่ใจแล้วว่าปลอดภัยและสะดวกที่จะขับเคลื่อนออกไปควร 1. เหลียวหลังมองไปข้างขวาอีกครั้งหนื่ง 2. ปลดเบรกมือออก ขณะที่ถอนคลัตช์ขึ้นเล็กน้อย รถยนต์จะเริ่มเคลื่อนที่ ต้องควบคุมแป้นคลัตช์อย่างเข้มงวดโดยให้อยู่ระดับเหนือจุดสัมผัสเล็กน้อย แล้วหักพวงมาลัยให้มากเพียงพอเพื่อให้รถยนต์พ้นจากสิ่งกีดขวางข้างหน้า 3. เมื่อรถพ้นจากสิ่งกีดขวางแล้วปล่อยคลัตช์อย่างนิ่มนวลจนสุด เว้นระยะห่างจากรถยนต์ข้างหน้าโดยเผื่อระยะห่างให้เพียงพอเผื่อมีใครบางคนอาจเปิดประตูรถออกมา 4. ตรวจด้านหลังทางกระจกมองหลังและมองข้าง 5. เคลื่อนรถยนต์ออกมาอย่างช้าๆ แล้วตั้งลำในแนวตรงไปข้างหน้า และพร้อมที่จะเบรกได้ทุกเวลา ถ้าบังเอิญมีคนเดินข้ามถนนโผล่ออกมาระหว่างรถที่จอดอยู่ข้างทาง การออกตัวของรถยนต์แบบหักมุม ที่มา:ธีรยุทธ  สุวรรณประทีป

การเปลี่ยนเกียร์

การเปลี่ยนเกียร์ต้องกระทำอย่างเหมาะสมกับอัตราเร็วของรถยนต์ควรฝึกฝนให้มีประสบการณ์ การเปลี่ยนเกียร์ควรทำอย่างราบเรียบและไม่รีบร้อน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับขี่ที่ปลอดภัย ตำแหน่งของเกียร์ต่างๆ คุณต้องเรียนรู้ตำแหน่งของเกียร์ต่างๆ และสามารถเปลี่ยนเกียร์ได้โดยไม่ต้องหันหน้ามามองปุ่มคันเกียร์ คุณสามารถฝึกฝนและทำความคุ้นเคยกับการเข้าเกียร์ตำแหน่งต่างๆ ได้โดยเหยียบคลัตช์ไว้ ขณะไม่ได้ติดเครื่องยนต์ ถ้าเกียร์มีปัญหา คือไม่สามารถเปลี่ยนเกียร์ได้อย่างอิสระจากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง อย่าพยายามฝืนดันด้วยแรงมากๆ คุณอาจเริ่มต้นใหม่ โดยการถอนคลัตช์และยํ้าใหม่อีกครั้งหนึ่ง ควรตรวจสอบดูว่าคันเกียร์ต้องอยู่ที่เกียร์ว่างก่อนการสตาร์ตเครื่องยนต์และออกตัว เมื่อคุณออกตัวด้วยเกียร์หนึ่งแล้วคุณก็สามารถ เปลี่ยนเกียร์สูงขึ้นตามลำดับ ซึ่งจะเหมือนกันกับการเปลี่ยนเกียร์อื่นๆ เมื่อใดจึงจะเปลี่ยนเกียร์สูงขึ้น การเปลี่ยนเกียร์ควรกระทำเรียงตามลำดับจากน้อยไปมากโดยแต่ละเกียร์จะต้องเหมาะสมกับอัตราเร็วรอบของเครื่องยนต์และอัตราเร็วของรถยนต์ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพการขับขี่ เช่น ขับขี่บนถนนระดับ ขึ้นทางชัน ลงทางลาด โดยทั่วไปแล้วเมื่ออัตราเร็วของรถยนต์เพิ่มขึ้นจะเปลี่ยนเป็นเกียร์ สูงขึ้น คุณอาจใช้การฟังเสียงเครื่องยนต์ช่วยให้ทราบอัตราเร็วรอบของเครื่องยนต์ที่ควรเปลี่ยนเกียร์ การเปลี่ยนเกียร์สูงขึ้น การตัดสินใจให้เหมาะสม ว่าเมื่อใดจึงควรจะเปลี่ยนเกียร์สูงขึ้น ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ขั้นตอนการเปลี่ยนเกียร์สูงขึ้นมีดังนี้ 1. มือข้างซ้ายวางบนคันเกียร์ 2. […]

การหยุดรถยนต์

การหยุดรถยนต์ควรได้รับการฝึกฝนให้ชำนาญ แรงกดบนแป้นเบรกจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับ -ความเร็วของรถยนต์ -ความต้องการที่จะให้รถยนต์หยุดเร็วเพียงใด อย่างไรก็ตามการเหยียบแป้นเบรกไม่ควรกระทำอย่างรุนแรงเกินไป ควรเหยียบแป้นเบรกอย่างนิ่มนวล ยกเว้นในกรณีฉุกเฉิน หลังจากที่รถยนต์ของคุณหยุดแล้ว ก่อนเปิดประตูรถยนต์ออกไปควรระมัดระวัง รถยนต์ จักรยานยนต์ จักรยาน และคนเดินถนน การเหยียบเบรก ให้เพิ่มแรงกดเบรกทีละน้อย 1. เริ่มด้วยการกดแป้นเบรกเบาๆ ก่อน 2. เพิ่มแรงกดแป้นเบรกทีละน้อยๆ เมื่อเบรกรถยนต์เริ่มทำงาน 3. เมื่ออัตราเร็วของรถยนต์ลดลงมากเพียงพอ ให้ผ่อนแรงกดเพื่อให้รถยนต์หยุดอย่างราบเรียบ เมื่อรถหยุดจริงๆ ควรจะมีแรงกดแป้นเบรกเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีเลย เทคนิคการขับขี่ที่ปลอดภัย ดังกล่าวจะช่วยให้ -ผู้ขับขี่รายอื่นมีเวลามากเพียงพอต่อการตอบสนอง -ช่วยป้องกันไม่ให้ล้อล็อกตาย -ป้องกันรถลื่นไถล -ช่วยลดการสึกหรอของผ้าเบรก ยาง และระบบกันกระเทือน […]

การเคลื่อนรถจากตำแหน่งหยุดนิ่ง

1. ใช้เท้าข้างซ้ายกดแป้นคลัตช์ลงสุดทางและกดไว้ 2. โยกคันเกียร์จากตำแหน่งเกียร์ว่างไปยังเกียร์หนึ่ง ถ้าไม่สามารถเข้าเกียร์หนึ่งได้ ให้ปฏิบัติดังนี้ -โยกคันเกียร์กลับไปที่ตำแหน่งเกียร์ว่าง -ยกเท้าให้แป้นคลัตช์เลื่อนตามขึ้นมาจนสุดทาง แล้วกดแป้นคลัตช์ลงไปใหม่อีกครั้งหนึ่ง -ทำซํ้าขั้นตอน 1 และ2 3. ใช้เท้าขวากดแป้นคันเร่งเล็กน้อยและคงไว้อย่างสม่ำเสมอ ในขณะนี้ความเร็วรอบของเครื่องยนต์จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 4. ผ่อนแป้นคลัตช์อย่างช้าๆ และราบเรียบจนกระทั่งคุณได้ยินเสียงเครื่องยนต์เปลี่ยนแปลงเบาลงไปเล็กน้อย แสดงว่าคลัตช์เริ่มจับแล้วซึ่งคุณสามารถรู้สึกได้ เมื่อมีประสบการณ์มากขึ้น 5. ตรึงคลัตช์ไว้ที่ตำแหน่งนี้ก่อน 6. ตรวจสอบความปลอดภัยครั้งสุดท้ายโดย -มองกระจก -ตรวจสอบจุดบอดโดยหันหน้าไปมอง 7. ให้สัญญาณเมื่อจำเป็น อย่าเลี้ยงคลัตช์อยู่ที่จุดสัมผัสนั้นนานเกินความจำเป็น -อย่าให้สัญญาณและออกรถไปโดยไม่ระมัดระวัง -อย่าปล่อยให้สัญญาณแสดงเป็นเวลานานๆ ถ้าคุณไม่สามารถออกตัวไปได้อย่างปลอดภัย 8. ถ้ามีความปลอดภัยเพียงพอที่จะออกรถ เตรียมพร้อมที่จะปลดเบรกมือ […]

อันตรายที่เกิดจากรถยนต์

1.  รถคว่ำ อาจเกิดจาก -ผู้ที่ขับรถไม่เป็น -รถสวนกันและแซงกันในที่แคบหรือถนนขรุขระ -ผู้ขับไม่ชำนาญเส้นทาง อาจทำให้รถแล่นออกนอกเส้นทางได้ -ผู้ขับรถง่วงนอนนั่งหลับ หรือมึนเมาสุรา -ลูกหมากคันส่งหยุด -เบรคแตกในระยะกระชั้นชิดกับอันตราย -ถนนมีลูกรังโรยหน้า ทำให้รถแฉลบลื่น -ยางล้อหน้าแตกในเมื่อรถมีความเร็วสูง -เบรคให้หยุดอย่างกะทันหันแล้ว รถปัดพลิกคว่ำ -รถแซงเบียดกัน -ขับรถ มีความเร็วสูงเกินไปถนนธรรมดาหรือทางโค้ง -ขับรถลงจากเนินด้วยความเร็วสูงหรือปลดเกียร์ว่าง 2.  รถชน  อาจเกิดจาก -เบรคไม่ทันเพราะความเร็วสูง -ถูกวิ่งตัดหน้าอย่างกระชั้นชิด -สวนกันไม่พ้น หรือสวนกันทางโค้ง ถนนไม่ดี -แล่นตามคันหน้าไปแล้วคันหน้าเบรคหยุดกระชั้นชิด -ออกรถจากซอยหรือทางแยกโดยไม่ระมัดระวัง -ขับรถผ่านสัญญาณไฟแดงหรือไม่ได้หยุดตามเส้นทางจราจร -ถนนลื่นอาจทำให้รถแฉลบเข้าหากัน -ใช้ไฟสูงส่องใส่หน้ากันในเวลากลางคืน ซึ่งทำให้มองถนนไม่ถนัด         […]

การจัดรถบรรทุกของและการใช้

1.  ตรวจดูน้ำหนักบรรทุกเสียก่อนทุกครั้ง  ถ้าบรรทุกของให้น้ำหนักเกินความต้านทานและกำลังรถ อาจทำให้เกิดการเสียหายหรือรถเสื่อมสภาพได้  สำหรับความต้านทานและกำลังรถ ผู้ที่ขับประจำเท่านั้นจะรู้สภาพของรถได้ดี 2.  ควรพิจารณาถึงความสะดวกของการเอาของขึ้นบรรทุกหรือขนลง  ถ้าได้รับความสะดวกเท่าใด อันตรายและเวลาก็ย่อมลดน้อยลงเท่านั้น 3.  การจัดวางสิ่งของ ควรจัดวางให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งควรคำนึงถึง -จัดวางให้บรรทุกของได้มากๆ ไม่เกะกะบริเวณพื้นที่ -ไม่เอนเอียง -จัดวางให้ตั้งอยู่ในที่ที่ปลอดภัยไม่ตกหล่นหรือเกิดการเสียหายได้ -จัดวางให้น้ำหนักบรรทุกอยู่ที่จุดกึ่งกลางของรถพอดี  สำหรับข้อนี้ ควรระวังรถที่บรรทุกของหนักๆ ส่วนของเล็กๆ น้อยๆ จะไม่มีปัญหาอะไร -จัดวางให้ถูกต้องตามด้านที่กำหนดไว้คือ ด้านที่เขียนบอกไว้ว่าด้านนี้ขึ้นบน 4.  เมื่อบรรทุกของเรียบร้อยแล้วก็ควรตรวจดู คือ -สปริง(แหนบ)ถ้าอ่อนตัวมากก็ควรลดน้ำหนักบรรทุกของลงอีก -ยางล้อ ถ้ายางอ่อนตัวมากก็ควรลงน้ำหนักบรรทุกลงอีกเช่นกัน 5.  การผูกมัด  ถ้าจำเป็นต้องผูกมัดด้วยวัตถุ […]

ข้อควรระวังในการขับรถ

1.  ไม่ควรขับรถ ที่บรรทุกของหนักให้เร็วเกินไปเพราะว่าถ้ารถเสียหลักการทรงตัวก็จะไม่สามารถประคองรถให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยได้ 2.  ไม่ควรใช้มือและเท้า ปฏิบัติงานอื่นในเมื่อรถกำลังแล่นด้วยความเร็วสูงเช่นก้มลงหยิบสิ่งของที่ตกหล่น 3.  ไม่ควรหักเลี้ยวรถหลบหลีกด้วยความตกตะลึงจะทำให้รถเสียหลักแต่ถ้าจำเป็นต้องหลบข้างถนนก็ควรหลบลงไปตรงๆ เพื่อป้องกันไม่ให้รถพลิกคว่ำ 4.  ไม่ควรขับรถให้นานเกินควรเมื่อรู้สึกตัวปวดเมื่อยหรือมีอาการเผอเรอ ก็ควรหยุดพักผ่อนทันทีอย่าพยายามฝืนขับต่อไป 5.  ควรตรวจดูเกจวัดบอกความดันต่างๆ ตลอดเวลาเพื่อป้องกันความเสียหายของรถ 6.  ควรเตรียมพร้อมต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เพื่อความไม่ประมาท 7.  ควรใช้สายตามองไปข้างหน้าให้มากที่สุดเพื่อความปลอดภัย  และผู้ขับรถจะต้องดูให้เห็นเหตุการณ์ข้างหน้า ก่อนผู้อื่นทั้งหมดที่นั่งไปในรถด้วยกัน เช่น มีทางแยกป้ายเครื่องหมายจราจร คนผ่านถนน ถนนที่หลุมขรุขระหรือทางข้างหน้าไม่ปลอดภัย 8.  เครื่องยนต์ที่กำลังมีความร้อนสูง ไม่ควรขับแล่นลงไปในน้ำที่น้ำท่วมเครื่องได้ ซึ่งจะทำให้เครื่องยนต์แตกร้าวได้ หรือถ้าเป็นเครื่องดีเซล  ถ้าน้ำเข้าทางท่อไอดีได้ ก้านลูกสูบก็จะคดหักหรือเสียหายมาก         9.  […]