การพิจารณาสภาพของสีเดิมและการประเมินราคา

ก่อนที่จะทำงานเกี่ยวกับสี ควรตรวจดูสภาพของสีเดิมก่อนว่าสีเดิมเป็นลักษณะอย่างไร การตรวจควรตรวจอย่างละเอียดด้วยความระมัดระวัง และสังเกตสีอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้ตัดสินใจได้ถูกต้องในการประเมินราคานั้น ซึ่งสามารถแบ่งตามสภาพเดิมดังนี้ 1. สีเดิมอยู่ในสภาพดี 2. สีเดิมอยู่ในสภาพปานกลาง 3. สีเดิมอยู่ในสภาพเลว 1. สีเดิมอยูในสภาพดี หมายถึง สีรถยังใหม่ ซึ่งเจ้าของรถต้องการเปลี่ยนสี ซึ่งสีเดิมของรถยนต์ไม่เกิดออกซิไดเซชั้น (ยังไม่เกิดฝ้า) สังเกตได้โดยใช้ยาขัดสีขัดสีรถนั้นดู สีจะเกิดการแตกต่างกันน้อย แสดงว่าการเกิดออกซิไดเซชั่นน้อย ถ้าสีแตกต่างกันมากแสดงว่าเกิดออกซิไดเซชั่นมาก 2. สีที่อยู่ในสภาพปานกลาง หมายความว่า สีเดิมของรถไม่มีรอยแตกร้าว, รอยเคาะ, แต่จะมีเฉพาะฝ้าเกิดขึ้นเท่านั้น 3. สีเดิมอยู่ในสภาพเลว หมายความว่า สีเดิมของรถมีรอยแตกร้าว, รอยเคาะ, ผุ, […]

โครงสร้างของตัวถังและโครงรถยนต์

(Auto Body Frame Construction) โครงสร้างตัวถังรถยนต์ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์นั่ง หรือรถยนต์บรรทุก ตัวถังรถยนต์สามารถแบ่งลักษณะโครงสร้างออกได้ 2 ชนิด 1. โครงรถและตัวถัง (The Auto body and Frame) 2. โครงตัวถังทั้งหมดเป็นโครงชิ้นเดียวกัน (Unitized body) 1. โครงรถและตัวถัง (The Auto body and Frame) ก. โครงรถ (Frame) โครงรถหมายถึงโครงรถยนต์เพื่อเป็นรากฐานในการสร้างรถยนต์นั่ง หรือรถยนต์บรรทุก มีไว้ให้เกิดความแข็งแรง เพื่อรองรับตัวถังซึ่งมีเครื่องยนต์ […]

ประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ

Energy Efficiency Rating (EER) ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องปรับอากาศเราใช้วัดปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ต่อหน่วยความสามารถการดูดความร้อน โดยใช้สูตรดังนี้ E E R =     BTU/HR 860 WATTS ตัวอย่าง เครื่องปรับอากาศเครื่องหนึ่งมีความจุในการดูดความร้อนออก = 0800 บีทียู/ชม. ถ้าต้องการทราบประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ โดยใช้พลังงานไฟฟ้าต่อหน่วย ความสามารถในการดูดความร้อนแทนค่าในสูตรได้ดังนี้ E E R = BTU/HR            =      8000 860     Watts        […]

ระบบการทำงานของเครื่องปรับอากาศ

เครื่องปรับอากาศส่วนมากออกแบบสำหรับทำให้เกิดความเย็นโดยการควบคุมปริมาณความชื้นของอากาศและส่งอากาศที่สะอาดออกจาก เครื่องปรับอากาศเข้าไปภายในห้อง การทำงานดังกล่าวจะทำงานโดยอัตโนมัติทั้งสิ้น หลักเกณฑ์การทำความเย็นเป็นหัวใจของเครื่องปรับอากาศ ระบบทำความเย็นทุกระบบจะต้องประกอบไปด้วยอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ 1. คอมเพรสเซอร์ 2. คอนเด็นเซอร์ 3. ท่อทางเดินสารทำความเย็น 4. อีแวปปอเรเตอร์ 5. การควบคุมปริมาณการไหลของสารทำความเย็น 6. การควบคุมการทำงานของมอเตอร์ และควบคุมการเดือดของสารทำความเย็นในอีแวปปอเรเตอร์ 7. สารทำความเย็น 8. พัดลม ระบบเครื่องปรับอากาศที่ยังนิยมใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน ได้แก่ระบบการดูดเอาความร้อนแฝงออกจากภายในห้อง เพื่อให้เกิดความเย็นขึ้นแทนที่ การติดตั้งเครื่องปรับอากาศจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับวิศวกรด้วยเพราะจำเป็นต้อง¬คำนวณขนาดของเครื่องปรับอากาศให้พอเหมาะกับสภาพของอาคารหรือห้อง ดังนั้นหลักการด้านการคำนวณจึงมีความสำคัญมากถ้าหากวิศวกรคำนวณผิดพลาดปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับการติดตั้งจะมีตามมาเป็นอันมาก เครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง(window Type) หรือเครื่องปรับอากาศชนิดติดกับฝาผนัง เป็นแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะว่าสะดวกในการติดตั้งและการบำรุงรักษา เครื่องปรับอากาศชนิดนี้จะแบ่งส่วนการติดตั้งและการทำงานออกเป็น 2 […]

อุปกรณ์ไฟฟ้า (ELECTRECAL EQUIPMENT)

มอเตอร์ไฟฟ้า (Electric Motors) มอเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้า เป็นพลังงานกลทำหน้าที่เป็นต้นกำลังในการขับคอมเพรสเซอร์ และพัดลม ของเครื่องปรับอากาศและตู้เย็น มอเตอร์ที่ใช้ขับคอมเพรสเซอร์มักเป็นมอเตอร์ชนิดกระแสสลับ (Alternating current) มีด้วยกัน 2 แบบคือ 1. มอเตอร์แบบเฟสเดียว (A.C. Single Phase Motor) 2. มอเตอร์แบบหลายเฟส (A.C. Poly Phase Motor) มอเตอร์แบบเฟสเดียวจะใช้ในช่วงที่ต้องการกำลังขับไม่เกิน 10 แรงม้า แบบหลายเฟสนั้นโดยทั่วไปจะเป็นแบบสามเฟส (Three Phase Motor) ชนิดสองเฟสไม่ค่อยนิยมใช้ในประเทศไทย จะใช้ก็แต่เพียงในงานเฉพาะอยางเท่านั้น ภาพที่ […]

ตู้เย็น REFRIGERATOR

ปัจจุบันตู้เย็นจัดว่าเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตประจำวันอย่างหนึ่ง จุดมุ่งหมายของการใช้ตู้เย็นเพื่อรักษาหรือถนอมอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ให้อยู่ได้นานหลายวัน ไม่เน่าหรือเสีย เป็นการประหยัดเวลาในการจัดซื้อ นอกจากนี้ตู้เย็นยังจัดเป็นเครื่องอำนวยความสุข กล่าวคือสามารถแช่เครื่องดื่มเช่นนํ้าอัดลมทำให้ผู้ดื่มมีความสดชื่นรู้สึกกระปรี้กระเปร่าเวลาเหนื่อยหรือกระหาย หลักการทำงานของตู้เย็นส่วนใหญ่แล้วมีหลักการทำงานคล้ายกับระบบทำความเย็นทั่วไป จะแตกต่างกันบ้างก็เพียงแค่ลักษณะการใช้งานและส่วนประกอบอุปกรณ์บางชิ้นเท่านั้น ตู้เย็นส่วนมากในปัจจุบันเป็นตู้เย็นแบบใช้กำลังงานทางกล (Mechanical Refrigerator) หลักการทำงานของตู้เย็น (Principle of Refrigerant ) การทำงานของตู้เย็นก็คือการใช้สารทำความเย็น (Refrigerants) เป็นตัวกลาง ในการดูดความร้อนออกจากสิ่งของที่บรรจุอยู่ภายในตู้เย็นออกมาระบายความร้อนสู่บรรยากาศภายนอกที่นอกตู้ ความร้อนภายในตู้เย็นมาจากที่ไหน ความร้อนภายในตู้เย็นได้มาจากอาหารหรือเครื่องดื่มที่บรรจุไว้ในตู้ และได้มาจากการเปิดตู้เย็นและการรั่วซึมเข้าไป สารทำความเย็นถูกหมุนเวียนอยู่ภายในด้วยสถานะและสภาพที่แตกต่างกัน สารทำความเย็นหมุนเวียนทำงานได้โดยการปั๊มหรืออัดตัวจากคอมเพรสเซอร์ (compressor) เมื่อสารทำความเย็นถูกอัดตัวก็จะกลายเป็นแกสความดันสูง และจะถูกส่งออกไประบายความร่อนที่คอนเด็นเซอร์ (condenser) ทำให้สารทำความเย็นในสภาพที่เป็นแกสร้อนซึ่งถูกอัดตัวจากคอมเพรสเซอร์เย็นลง และกลายเป็นของเหลวอีกครั้งหนึ่ง […]